กระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุคสายกลางยอมรับว่า
สิ่งต่าง ๆ พึงพิจารณาได้จากสัมพัทธนิยม
(relativism) คือ สิ่งต่าง ๆ
มีความสัมพันธ์ต่อกัน
แต่ความสัมพันธ์เหล่านี้ล้วนวางอยู่บนฐานของสสารนิยม
(กฎฟิสิกส์ของวัตถุ)
โดยไม่ได้ปฏิเสธประจักษ์นิยม (empiricism)
ว่าสิ่งต่างๆ ต้องปรากฎให้เห็นว่าจริง
แต่มองว่า ไม่อาจนำสิ่งหนึ่งไปอนุมาน
(inference) อีกสิ่งหนึ่งได้
หากไม่พิจารณาความไม่แน่นอนแบบสุดวิสัย
(contingency)
...
หลักการนี้หมายความว่า
สิ่งหนึ่งอาจเกิดก่อนอีกสิ่ง
แต่ไม่ได้เกิดขึ้นร่วมกันเสมอไป
บางสิ่งอาจเกิดขึ้นในทันทีร่วมกัน
โดยไม่เป็นเหตุเป็นผลต่อกันก็ได้
จึงไม่อาจใช้อ้างอิงหรืออนุมานต่อกันได้
100%
และเราควรยอมรับการมีอยู่ของสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสุดวิสัย
เช่น การหยั่งรู้ ปาฏิหาริย์
ด้วยเช่นเดียวกัน
#Kirtianschoolofthought
#ปรัชญาสวนสุนันทา