ประวัติ


         หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑินี้ เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างดุษฎีบัณฑิตให้เป็นปัญญาชนชาวไทยที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญทางปรัชญาและจริยศาสตร์ระดับสากล และมีศักยภาพ ในการสร้างองค์ความรู้ทางปรัชญาหลังนวยุคสายกลางและชี้แนะสังคมในแง่มุมต่างๆของชีวิตและสังคมได้อย่างมั่นใจและมีเกียรติ โดยเทิดทูน เกียรติศักดิ์ นักปรัชญา

ประวัติความเป็นมา

         หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาปรัชญาและจริยศาสตร์เกิดจากอนุสนธิที่ ศาสตราจารย์กีรติบุญเจือ (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2549-51, ประธานคณะอนุกรรมการธิการคุณธรรมและจริยธรรมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ได้มาปาฐกถา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เมื่อ 16 มกราคม 2551 และได้ชี้ว่า "ประเทศไทยยังขาดหลักสูตรในระดับสูงด้านคุณธรรมและจริยศาสตร์"นั่นคือสาขาปรัชญา ที่เน้น "ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง" (moderate postmodern philosophy) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมแก่สังคมไทยในระดับวิชาการ  นักวิชาการทุกสาขาต้องได้พัฒนาความรู้และความเข้าใจในศาสตร์แต่ละสาขาวิชาให้ถึงขั้นปรัชญาและได้พัฒนาระบบความคิดวิเคราะห์ในเชิงปรัชญาที่เน้นคุณค่าจริยธรรมในการเป็นผู้ชี้นำสังคมด้วยหลักปรัชญาควบคู่จริยธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นคุณธรรม จริยธรรมและสมานฉันท์สามัคคีในธรรมาภิบาล ตลอดจนมีใจอนุรักษ์ธรรมชาติและดำรงชีวิตอย่างมีศิลปะและหลักวิชาการ 

        กระบวนการจัดตั้งหลักสูตรได้ผ่านการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัยและ เปิดรับนักศึกษาเมื่อ ปีการศึกษา 2/2551 การเรียนของหลักสูตรนั้นนักศึกษาจะต้องทำรายงานพื้นฐานปรัชญา10 วิชา และสอบวัดคุณสมบัติในวิชาอภิปรัชญา ญาณปรัชญาและอรรถปริวรรต เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะเป็นผู้มีสิทธิในการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกได้โดยมีการดูแลอย่างใกล้ชิดของที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์         สำนักงานหลักสูตรฯ ตั้งอยู่ที่ ตึก 21 ชั้น 5  ห้อง 2156โทร 080-0847389