กระแสนวยุคนิยมส่งเสริมมนุษยนิยม เน้นการสนับสนุนหลักการใช้ชีวิตของมนุษย์และมีอิทธิพลต่อนักคิดในศาสนาพุทธ โดยเฉพาะในนิกายมหายาน จนได้พุทธศาสนาเชิงมนุษยนิยม โดยท่าน ไทซู (Taixu, 1890-1947) ได้ปฏิรูปคำสอนให้เน้น Human และ life นั่นคือ ให้ความสำคัญกับคำสอนสำหรับ human world และมองว่าพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับโลกหน้า และ การทำให้เป็นเทพ (deification) ล้วนไม่เหมาะสมกับยุคสมัย คำสอนเน้นให้ปฏิบัติตนตามอย่างพระพุทธเจ้าศรีศากยมุนี โดยมีหลัก 6 ประการ ได้แก่
- การมีมนุษยธรรม (humanity)
- การเห็นแก่ผู้อื่น (altruism)
- การฝึกฝนทางจิตในชีวิตประจำวัน (spiritual practices)
- การมีชีวิตที่มีความสุข (joyfulness)
- การอยู่กับปัจจุบัน (timeliness)
- การรักษ์สรรพสิ่ง (the universality of saving all beings)
กระแสพุทธศาสนาเชิงมนุษยนิยมนี้ได้วิพากษ์พุทธศาสนารูปแบบดั้งเดิม (ritual Buddhism) และส่งเสริมกิจกรรมของพระในด้านมนุษยนิยม เช่น การช่วยเหลือผู้ยากไร้ การสร้างโรงพยาบาล เป็นต้น
กระแสคิดนี้สอดคล้องไปกับการตีความอย่างหลังนวยุคในปัจจุบัน
แต่ก็เกิดภาวะสุดขั้วในการยอมรับของแต่ละฝ่ายได้
จึงน่าจะลองพิจารณาหลักการประนีประนอม
(compromise)
เพื่อความเป็นหลากหลายที่อยู่ร่วมกันเป็นเอกภาพ
(diversity in unity) น่าจะเป็นจุดถ่วงดุล
(fulcrum)
สำหรับฝ่ายก้าวหน้าและฝ่ายอนุรักษ์นิยมในศาสนาซึ่งต้องผ่านการสังสรรค์วิวาทะกันต่อไปจนกว่าจะถึงจุดที่ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้
#ปรัชญาสวนสุนันทา
#ปรัชญาและจริยศาสตร์
#philosophy_and_ethics
#Kirtianschoolofthought