เมื่อก้าวพ้นจากพันธะของ logocentrism โลกได้เดินอยู่บนเส้นทางของการวิพากษ์ (critical theory) เพื่อรื้อถอนความเป็นศูนย์กลางของภาษา (คำ) นั่นคือ ถอดรื้อคอนเซ็ปต์ต่างๆ ที่เกิดจากคำและความหมายของคำเพื่อให้เข้าถึงเนื้อแท้ของสิ่งนั้นตามความเป็นจริง (reality) และเป็นจริง ณ ขณะนั้น (actuality) โดยมองเห็นถึงสิ่งที่กำลังจะเป็น (becoming) โลกในกระแสคิดนี้เรียกตัวเองว่า postmodernism แต่เมื่อรื้อถอนความหมายจนถึงที่สุดแล้ว ก็พบว่าไม่สุดทางเสียที จึงถอยร่นกลับมาเพื่อพิจารณาเฉพาะสิ่งที่จำเป็น (needs) และต้องมี (wants) สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ จึงเรียกตัวเองว่า moderate way of postmodern และจึงได้มีผู้จำแนกใหม่เป็น extreme postmodernism และ moderate postmodernism ทั้งนี้ กระแสหนึ่งเริ่มเบื่อหน่ายคำว่า postmodern จึงอยากใช้คำอื่น สิ่งอื่นมาแทนที่ แต่ก็ยังหาคำดีๆ ไม่ได้ ได้แต่เชิญชวนให้ออกจาก postmodern ที่เน้นวิพากษ์วิจารณ์ มาเป็นการอยู่กับสิ่งที่ตนมองเห็นว่าน่าตื่นตาตื่นใจดีกว่า กระแสนี้วางอยู่บนความชอบ (favor) และมีหลายคนเรียกว่า post-postmodernism แต่ก็มองได้ว่าเป็นบางเส้นทางในทางสายกลางนั่นเอง จนกว่าจะสร้างกระแสไปจนสุดขั้วอีกทางหนึ่งได้ คือไม่เป็นทั้ง modern และ postmodern แต่เป็นอะไรก็ค่อยๆ แสวงหาคำตอบกันต่อไป
#ปรัชญาสวนสุนันทา #ปรัชญาและจริยศาสตร์ #มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา