หน้าหลัก > ข่าว > เกล็ดความรู้ / สาระปรัชญา > Grand tale, Grand narrative
Grand tale, Grand narrative

admin philosophy
2021-07-23 14:56:48

เรื่องเล่าใหญ่ได้ถูกวิพากษ์ในฐานะเรื่องเกินจริง โดย เลียวตาร์ด (Lyotard, 1979) ที่ชี้ว่าความรู้หรือกฎสากลเป็นเรื่องเล่าใหญ่ที่ได้กลายเป็นกรอบครอบงำผู้คน ซึ่งจำเป็นต้องวิเคราะห์ วิพากษ์ ปลดเปลื้องความยึดมั่นถือมั่นของผู้คนต่อกรอบเหล่านี้ลงไป ผู้คนได้รับความคิดนี้มาโดยเชื่อมไปกับแนวคิดการโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) จึงมองในแง่ลบ โดยถือว่าเป็นปัญหาของเรื่องเล่าเชิงจารีต (traditional tale)

...แต่เมื่อย้อนพิจารณาคุณค่าของเรื่องเล่าใหญ่นั้น แหล่งกำเนิดเรื่องเล่าใหญ่จะเริ่มจากภาวะที่ผู้คนลำบาก ขาดแคลน มีวิกฤติในด้านต่างๆ รวมถึงด้านความคิด ความเชื่อ จึงมีการผลิตเรื่องเล่าใหญ่เพื่อปลอบประโลมใจ ชี้ถึงการช่วยเหลือ เล่าถึงภัยอันตรายที่เกิดกับวีรบุรุษ ความยากลำบากของการช่วยเหลือหรือการดำเนินการต่างๆ อีกทั้งยังแสดงเกียรติยศของฝ่ายปฏิบัติในเรื่องนั้น ทำให้ผู้คนยอมรับและสรรเสริญต่อเกียรตินั้น ความรู้สึกว่าผู้มาช่วยตนต้องประสบความยากลำบากไม่ต่างจากตน ทำให้ผู้คนมีความสุขสงบทางใจได้ ความสับสนวุ่นวายหรือความโกรธเกรี้ยวของผู้คนต่อความเป็นจริงต่างๆ ก็จะลดลงไปได้



#Kirtianschoolofthought

#ปรัชญาสวนสุนันทา

#ปรัชญาและจริยศาสตร์