หลักคิดสำคัญของปรัชญาหลังนวยุคที่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการสาขาต่างๆ คือ หลักรื้อถอนนิยม (deconstructionism) ซึ่งเราก็สอนกันอยู่เสมอสำหรับใช้เพื่อการวิจารณ์หตุผลฝ่ายตรงข้าม โดยเริ่มจาก1) วิพากษ์นิยม (criticism) ที่เน้นการวิพากษ์ถึงผลเสีย/ผลร้าย/จุดอ่อนของสิ่งที่เราสนใจ ทั้งนี้จะต้องไม่วิพากษ์โดยตัดสินข้างไปแล้ว (critique) นั่นคือ ให้วิพากษ์ตามเหตุตามผลอย่างเป็นกลาง ทั้งนี้ มีหลักที่สามารถใช้ได้คือ 2) differance ของ Derrida ที่มองว่า แนวคิดต่างๆ นั้นไม่อาจใช้เพียงคำใดคำนึ่งที่สื่อถึงได้ จะต้องใช้คำอื่นมาอธิบายร่วมด้วยเสมอ จึงไม่ควรยึดติดนิยามของคำหนึ่งๆ มาเป็นหลักคิด 3) Discouse ของ Foucault ที่มองว่า วาทกรรม/คำทั้งหลายเป็นผลจากระบบคิดของสังคมที่ต้องการสื่อความหมายบางอย่างและมีผลในเชิงรูปธรรมแก่ผู้ใช้และผู้ฟังผ่านความเข้าใจแฝงที่ซ่อนอยู่ และ 4) Hyper-reality ของ Boudrillard ที่มองว่า มนุษย์ไม่อาจแยกโลกทัศน์ได้ว่าอะไรจริงอะไรแต่งเสริมขึ้น และยิ่งไม่อาจบอกได้ว่าสิ่งนั้นเริ่มเป็นเช่นนั้นเมื่อไรและจะจบลงเมื่อใด
แนวคิดทั้ง 4 นี้ถูกใช้เพื่อเป็นหลักคิด เกณฑ์ตัดสินความจริงและเป็นฐานคิดเพื่อเสนอหลักปฏิบัติหรือการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันที่เหมาะสมได้บนฐานคิดกระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลาง และมิใช่เพียงเพื่อคิดไปเพียงเพื่อให้เห็นว่าตนที่คิดเช่นนี้ได้เป็นคนเก่ง หรือเพียงเพื่อสนุกกับเกมการคิดเท่านั้น
#ปรัชญาสวนสุนันทา #ปรัชญาและจริยศาสตร์ #philosophy_and_ethics #มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา