ความชอบธรรม จำเป็นต้องปราศจากอคติ 4 ประการ
1. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบหรือพอใจ
2. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชังหรือไม่พอใจ
3. โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลง เพลิน ขาดสติ
4. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว
อคติหรือความลำเอียงทั้ง 4 อย่างนี้เป็นตัวแปรสำคัญในการปิดกั้นความเจริญ ขัดขวางการพัฒนาศักยภาพทางด้านใจ ทำให้มนุษย์ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ตรงกันข้าม ความยุติธรรมในกรอบของความเที่ยงธรรมไร้อคตินั้น จะนำไปสู่การสร้างชีวิต และสังคมที่เป็นธรรมมากยิ่งขึ้น ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ธรรมนั้นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม” เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ใส่ใจคนอื่น รักษาความยุติธรรม เที่ยงธรรม เมื่อนั้น สังคมจะเกิดดุลยภาพ สามารถอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
.........................
แหล่งอ้างอิง
วิเศษ แสงกาญจนวนิช และ เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2560). “ความชอบธรรมของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะปรัชญาเพื่อการพัฒนาชาติ”. รายงานการวิจัย. สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่...
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1237395723079929&id=100004285386661&mibextid=Nif5oz
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1191997697619732&id=100004285386661&mibextid=Nif5oz
------------------------
www.philosophy.grad.ssru.ac.th
#ปรัชญาสวนสุนันทา #ปรัชญาและจริยศาสตร์ #SSRU #philosophy #gradssru #philosophy_and_ethics